หลักสูตรภาษาอังกฤษ

บัณฑิตวิทยาลัยสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเกียวโตส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสอบเข้าและเรียนในหลักสูตร แต่มีบางสาขาที่ไม่จำเป็น ด้านล่างนี้แนะนำบางหลักสูตรที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษจนจบการศึกษา สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาสอบถามแต่ละภาควิชาหรือแต่ละห้องวิจัยผ่าน ASEAN Center

Joint Degree Master of Arts Program in Transcultural Studies (คณะอักษรศาสตร์)


หลักสูตรร่วม (Joint Degree) กับมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก เยอรมนี เข้าเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีแห่งละ 1 ปีและเก็บหน่วยกิตจากทั้งสองมหาวิทยาลัย เลือกวิชาเอกจาก 3 สาขา ได้แก่ “ความรู้ ความเชื่อและศาสนา Knowledge, Belief and Religion” “สังคม เศรษฐกิจและการปกครอง Society, Economy and Governance” “ทัศนวิสัย สื่อและวัฒนธรรมทางวัตถุ Visual, Media and Material Culture” สามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทโดยใช้ภาษาอังกฤษในการสอบเข้าและในชั่วโมงเรียน หลักสูตรนี้เปิดขึ้นในปี 2017 และจะเริ่มหลักสูตรระดับปริญญาเอกในปี 2021
URL: https://www.cats.bun.kyoto-u.ac.jp/jdts/

International Graduate Programme for East Asia Sustainable Economic Development Studies (คณะเศรษฐศาสตร์)


ประกอบด้วยหลักสูตรระดับปริญญาโท 2 ปี และ ปริญญาเอก 3 ปี ใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร ไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นในการสอบเข้า หลักสูตรนี้มุ่งสร้างนักวิจัย เจ้าหน้าที่ราชการ ผู้ประกอบการทางสังคมที่สามารถทำคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มีโปรแกรมแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และโอกาสทำงานวิจัยภาคสนามด้วย
URL: http://www.econ.kyoto-u.ac.jp/kueac/

International MBA Programs (i-BA and i-PM) (บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารจัดการ)


หลักสูตรระดับปริญญาโท 2 ปีใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตรตั้งแต่สอบเข้า ในชั่วโมงเรียนจนถึงสำเร็จการศึกษา หลักสูตร i-BA (International Business Administration Program) นำเสนอสาขาวิชาในขอบข่ายที่กว้างสำหรับนักเรียนที่มุ่งสำเร็จการศึกษา MBA ทั่วไป หลักสูตร i-PM (International Project Management Program) เป็นหลักสูตรสร้างผู้จัดการโปรเจ็กต์ระดับสากลผู้มีความสามารถในการบริหารจัดการที่หลากหลาย บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารจัดการยังมีหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลอีกด้วย
URL: http://www.gsm.kyoto-u.ac.jp/en/admission-information/admission-guidelines.html

Third Year Transfer Students (ภาควิชาเอเชียแอฟริกาศึกษา)


ระดับบัณฑิตวิทยาลัยเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี หากต้องการเข้าเรียนตั้งแต่ปีแรก จำเป็นต้องสอบภาษาญี่ปุ่น แต่นักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอื่นแล้วสามารถเทียบเข้าปี 3 ได้โดยยื่นคำร้องและสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ อันดับแรก กรุณาติดต่ออาจารย์ที่คุณต้องการเข้ารับการแนะแนวงานวิจัย
URL: https://www.asafas.kyoto-u.ac.jp/en/admissions/transfer/

เหล่านี้เป็นหลักสูตรที่ภาควิชาต่าง ๆ เปิดให้ใช้ภาษาอังกฤษในการยื่นคำร้อง สอบเข้า และในชั่วโมงเรียน แต่สำหรับระดับปริญญาเอก ยังมีห้องวิจัยหรืออาจารย์ที่ให้การแนะแนวด้วยภาษาอังกฤษอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ใน 2 สาขาวิชาต่อไปนี้ สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสอบเข้าระดับปริญญาเอกและรับการแนะแนวงานวิจัย โดยไม่จำเป็นต้องมีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น ในการสอบเข้าระดับปริญญาโท จำเป็นต้องสอบภาษาญี่ปุ่น แต่ชั่วโมงเรียนของอาจารย์ประจำภาควิชาเปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ

Philosophy Department (คณะอักษรศาสตร์)


สามารถเรียนรู้หัวข้อต่าง ๆ ของปรัชญาตะวันตกในขอบข่ายที่กว้างตั้งแต่ปรัชญาคลาสสิกยุคใหม่และปัจจุบันจนถึงปรัชญาเชิงวิเคราะห์ หลายปีที่ผ่านมา มีนักเรียนต่างชาติมาเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของกลุ่มสำนักเกียวโตและปรัชญาพุทธศาสนาเพิ่มขึ้น
URL: http://www.philosophy.bun.kyoto-u.ac.jp/en_home/

Indological Department (คณะอักษรศาสตร์)


เปิดภาควิชาในปี 2004 โดยรวมสาขาวิชาประวัติศาสตร์ปรัชญาอินเดียและสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีสันสกฤตเข้าด้วยกัน ภาควิชานี้ได้ให้ความร่วมมือทางการวิจัยและดำเนินงานวิจัยร่วมระดับนานาชาติอย่างกระตือรือร้นในฐานะศูนย์กลางการวิจัยสันสกฤตระดับโลก
URL: https://www.bun.kyoto-u.ac.jp/en/departments/div_of_east-west_culture/east_list/#525


นอกจากตัวอย่างข้างต้นยังมีกรณีอื่น ๆ อีกมากมาย หากมีอาจารย์ที่ต้องการรับการแนะแนวงานวิจัยอยู่ในใจแล้ว ให้ปรึกษาอาจารย์ท่านนั้นจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุด หากมีสาขาหรือหัวข้องานวิจัยแล้วแต่ยังไม่มีการติดต่อกับอาจารย์ท่านใด กรุณาปรึกษา ASEAN Center ซึ่งจะช่วยแนะนำหลักสูตรหรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับคุณ (มีเจ้าหน้าที่คนไทยประจำ)

Kyoto University ASEAN Center

https://www.oc.kyoto-u.ac.jp/overseas-centers/asean/en/
asean-bangkok(at)oc.kyoto-u.ac.jp

หากท่านสนใจกิจกรรมของเราในประเทศไทย โปรดติดตามเราได้ที่

京都大学 人社未来形発信ユニット

© Copyright Unit of Kyoto Initiatives for Humanities and Social Sciences, All Rights Reserved.

↑