การ์ตูน

หน่วยเผยแพร่รูปแบบอนาคตของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จัดทำการ์ตูนแนะนำงานวิจัยของอาจารย์ 5 ท่านผู้ศึกษาเกี่ยวกับ “มนุษย์ศาสตร์เอเชีย”

การดูแลครอบครัวและความเกี่ยวข้องกับสังคม
ศาสตราจารย์เอมิโกะ โอจิไอ
(ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์)


หัวข้อหลักของงานวิจัยเกี่ยวกับครอบครัวและเพศ งานวิจัยเปรียบเทียบสังคมในเอเชียและศึกษาการสร้างทฤษฎีทางสังคมขึ้นใหม่จากมุมมองของเอเชีย
ผลงานสิ่งพิมพ์ เช่น Transformation of the Intimate and the Public in Asian Modernity, Brill, 2014 (ร่วมกับ Hosoya Leo Aoi) เป็นต้น

การบริการคือการต่อสู้หรือ?
รองศาสตราจารย์ยูตากะ ยามาอุจิ
(ภาควิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยการบริหารจัดการ)


งานวิจัยเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและลูกค้าในงานบริการ ผลงานสิ่งพิมพ์ เช่น “การบริการในฐานะ “การต่อสู้”- งานวิจัยปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า” ชูโอเคไซชะ, 2015 (ภาษาญี่ปุ่น)
Website : http://yamauchi.net

จำแนกประเภทของ “มนุษย์” อย่างไร
ศาสตราจารย์ยาสึโกะ ทาเคซาวะ
(ภาควิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยมนุษยศาสตร์)


พัฒนางานวิจัยด้านมานุษยวิทยาเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์และชาติพันธุ์โดยมีงานวิจัยเกี่ยวกับชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นเป็นฐาน ผลงานสิ่งพิมพ์ เช่น Trans-Pacific Japanese American Studies: Conversations on Race and Racializations, Univ. Hawai‘i Press, 2016 (ร่วมกับ Gary Y. Okihirro) เป็นต้น
Website : http://takezawa.zinbun.Kyoto-u.ac.jp/?lang=en

มองหาตัวตนของ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
ศาสตราจารย์ยาสึโอะ เดงุจิ
(ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์)


ผู้นำความเคลื่อนไหวใน “ปรัชญาเอเชียเชิงวิเคราะห์” ซึ่งใช้เครื่องมือของปรัชญาวิเคราะห์และตรรกศาสตร์ในการบูรณะความคิดในเอเชีย เช่น พุทธศาสนา และปรัชญาของกลุ่มสำนักเกียวโต ผลงานสิ่งพิมพ์ เช่น The Moon Points Back, Oxford Univ. Press 2015 (ร่วมกับ K. Tanaka, J. Garfield, G. Priest) เป็นต้น

ตัวตนของภูมิภาค ที่มองเห็นจากภัยพิบัติ
รองศาสตราจารย์โยชิมิ นิชิ
(หน่วยวิจัยภูมิภาค ศูนย์วิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา)


งานวิจัยเกี่ยวกับความขัดแย้งในภูมิภาคที่มีความหลากหลายของภาษาและศาสนา และกระบวนการรับมือต่อภัยพิบัติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังทำงานวิจัยเกี่ยวกับภาพยนตร์อินโดนีเซีย มีผลงานสิ่งพิมพ์ เช่น “ก้าวข้ามผ่านสงครามภายในประเทศจากการฟื้นฟูภัยพิบัติ : แผ่นดินไหวและสึนามิในสุมาตรากับความขัดแย้งในอาเจะห์” สำนักพิมพ์งานวิชาการแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต, 2014 (ภาษาญี่ปุ่น) เป็นต้น

หากท่านสนใจงานวิจัยของอาจารย์เหล่านี้ กรุณาติดต่อ ASEAN Center มหาวิทยาลัยเกียวโต

Kyoto University ASEAN Center

https://www.oc.kyoto-u.ac.jp/overseas-centers/asean/en/
asean-bangkok(at)oc.kyoto-u.ac.jp

หากท่านสนใจกิจกรรมของเราในประเทศไทย โปรดติดตามเราได้ที่

京都大学 人社未来形発信ユニット

© Copyright Unit of Kyoto Initiatives for Humanities and Social Sciences, All Rights Reserved.

↑